:::     :::

เส้นทางนักข่าวของ Fabrizio Romano และความหมายของ "HERE WE GO"

วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
1,674
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เส้นทางชีวิตของนักข่าวชื่อดัง ในระดับความน่าเชื่อถือ tier2 ที่ทำยังไง ให้คนสนใจข่าวแกมากกว่า tier1 และความหมายของวลี Here we go ในบริบทโครงสร้างภาษาไทย

"การทำข่าวแบบนี้มันไม่ง่ายเลย เพราะคนก็จะรอถามหรือพยายามจะให้ผมยืนยันเรื่องต่างๆ ซึ่งผมต้องเคารพนักข่าวท่านอื่นๆด้วย เพราะฉะนั้นแล้วผมก็จะพูดแค่เท่าที่ผมรู้ ผมไม่อยากรายงานข่าวปลอม"

"ตลาดซื้อขายนักเตะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายปีนี้ สมัยก่อนการจะนัดกับใคร หรือกับเอเย่นต์คนไหนก็จะต้องโทรศัพท์ แต่เดี๋ยวนี้เราคุยกันบนโซเชียลมีเดียได้แล้ว ผมจึงจำเป็นต้องทำตัวให้พร้อมตลอดเวลา"

นี่คือคำให้สัมภาษณ์ต่อวิธีการทำงาน และจรรยาบรรณในการรายงานข่าว ของนักข่าวอย่าง Fabrizio Romano ซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆในหมู่ผู้หิวกระหายการทำยอดtrafficด้วยวิธีการรัวเป็นปืนกล และเน้นปืนครกขนาดใหญ่ยิงใส่คนอ่านด้วยการพาดหัวเรียกแขกใส่ไข่อย่างเต็มข้อ

โรมาโน่สั่งสมเครดิตออกมาด้วยการยิงแม่นๆเน้นๆทีละนัด ไม่ได้จัดเป็นแม็ก แต่มันคือปืน Rovolver ที่กระสุนทุกนัดในลูกโม่ มีความหมายที่ต้องยิงให้โดนเท่านั้น


Fabrizio Romano นักข่าวอิตาเลียนวัย 29 ปี ผู้เป็นชาวเมือง Naples โดยกำเนิดรายนี้ เขียนถึงฟุตบอลตั้งแต่อายุ 16 ตอนสมัยอยู่ไฮสคูล และเริ่มต้นชีวิตในเส้นทางการทำงานเป็นนักข่าวสายฟุตบอลตั้งแต่อายุแค่ 18 ปีในการเขียนข่าวกับเว็บไซต์ของอิตาลี(2011)

จนมาวันนึงมีเอเย่นต์ชาติเดียวกันมาขอความช่วยเหลือให้เขาไปช่วยงานที่ประเทศสเปน ... บาร์เซโลน่า ศูนย์ฝึกลามาเซีย และเขาได้เขียนข่าวการย้ายทีมของดาวเตะอายุน้อยฝีเท้าดี ณ อะคาเดมี่ชื่อก้องโลกดังกล่าว ทำให้โรมาโน่รู้จักและได้คอนเน็คชั่นกับหลายๆคนจากตรงนี้ ก็เพราะข้อมูลระดับ inside สุดๆที่ทำงานกับเอเย่นต์ชาวอิตาเลียนนั่นเอง

หนึ่งในนั้น คือ Mauro Icardi และนี่เป็นนักเตะคนแรกที่การย้ายทีมของเขา ถูกเขียนโดย Fabrizio Romano นั่นเอง

ปี 2012 ในวัย 19 ปี เขาก็เริ่มทำงานกับ Sky Sports Italy ซึ่งตรงนั้นแหละที่เขาได้สร้างคอนเน็คชั่นเอาไว้มากมายกับเอเย่นต์และสโมสรต่างๆจากทั่วทุกสารทิศ ยังไม่รวมสายข่าวจากสื่อต่างๆที่แกทำงานที่อื่นๆอีก ทั้ง The Guardian, CBS Sports และรวมถึง caughtoffside ด้วย ซึ่งฐานบัญชาการแกก็จะทำอยู่ที่มิลานนั่นเอง

และไม่ต้องแปลกใจ ทำไมคอนเน็คชั่นเยอะ แกทำหลายที่ และแต่ละที่ก็เป้งๆทั้งนั้น

จากดีลเยาวชนบาร์ซ่าคนนั้น ที่ย้ายไปสู่ "ลาซามพ์" ซามพ์โดเรียสองปี ก่อนจะมูฟวิ่งมอสแบบงามๆสู่อินเตอร์มิลานในปี 2013 "เฮียแฟ้บ" ก็เริ่มขึ้นชาร์ทนักข่าวมือเก๋าทันที ยกระดับTierตัวเองในด้านชื่อเสียงและการยอมรับในวงการนักข่าว ผ่านการรายงานดีลอิคาร์ดี้จากจุดเริ่มต้นนั่นเอง

11ปีในการทำงานของโรมาโน่ พาเขามาถึงจุดที่เรารู้จักเขาดีในวันนี้ แน่นอน หลายๆคนทราบกันดีว่า แกคือนักข่าวระดับ tier 2 ของทุกๆสาย ไม่ใช่แค่เฉพาะกับแมนยูไนเต็ด แต่รวมถึงข่าวที่แกรายงานซึ่งครอบคลุมทุกลีกใหญ่ๆ กับดีลที่น่าสนใจในยุโรปทุกเม็ด ติดตามแกคนเดียวก็ทำให้เห็นการเคลื่อนไหวของตลาดซื้อขายนักเตะในภาพรวมใหญ่ได้แล้ว

ว่าแต่.. "Here We Go" ที่เป็นวลีเด็ดของแกในการยืนยันคอนเฟิร์มว่า "มาแล้ว" แน่ๆนั้น ความหมายจริงๆมันแปลว่าอะไร


คำนี้มันเป็นวลีพูด (ถือว่าinformal) ที่จะแปลตรงตัวเลยไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และบริบทนั้นๆ ไม่ได้แปลว่า "ไปกันเล้ย" แค่อย่างเดียว

แบบแรก ใช้เพื่อสื่อความหมายถึงการที่มีอะไรบางอย่างจะเริ่มต้นขึ้น เกิดขึ้น หรือเริ่มเคลื่อนที่ เช่น จะขับรถไปบางนา ก็สามารถใช้ Here We Go บอกคนขับได้ (ไปเลย, ไปกันเลยพี่) หรือจะแปลแบบภาษาพูดบ้านๆก็จะเป็น "ลุยกันเลย" ก็ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะในความหมายของการเริ่มไป หรือเริ่มทำอะไรสักอย่าง

อีกแบบ จะใช้ในบริบทประมาณบอกให้เตรียมพร้อมว่า "เอาล่ะนะ" แบบนี้ก็ได้ เพราะมันก็จะเกิดการเริ่มต้นขึ้น ของอะไรบางอย่างที่กำลังจะทำเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็จะใช้แบบนี้ได้



ส่วนของโรมาโน่ แน่นอนว่า Here we go มันเป็นวลีเพื่อคอนเฟิร์มว่า ดีลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ย้ายมาแล้วเรียบร้อย เพราะฉะนั้น ถ้าจะเอาเป็นภาษาพูดให้ตรงเป๊ะๆ มันจะไม่fixว่าต้องแปลว่าอะไร

จะ "ไปกันเลย" / "ลุยเลย" ก็ได้

หรือจะ "มาแล้ว" ก็ได้เหมือนกัน เพราะบริบทของคำว่ามาแล้วในที่นี้ ก็คือการเดินหน้าร่วมทีมใหม่ของนักเตะคนนั้นๆ ที่โรมาโน่รายงานให้เราทราบ ถึงแม้ดูเหมือนคำว่า "มาแล้ว" จะคนละmeaningกับ "ไปกันเลย" ซึ่งเป็นคำแปลหลักของ Here we go หากจะมองว่าตัวภาษาไทย มา กับ ไป มันตรงข้ามกัน

แต่จริงๆ ผมว่ามันสามารถใช้ในบริบทนี้ได้ครับ เพราะความหมายหลักของวลีนี้จากโรมาโน่ มันพูดถึงบริบทที่นักเตะคนนั้นๆย้ายทีมแล้วนั้นเอง จะใช้คำไหนที่หมายถึงการ "บอก" ว่าดีลนั้นสำเร็จแล้วก็ได้

ลองคิดเล่นๆว่า Here we go มันพูดยังไงได้บ้างในภาษาไทย

"มาแล้ว" ก็ok

"เสร็จโจร!" ก็น่าจะได้

แต่ถ้าเป็น "เสร็จฉันล่ะ" อย่างนี้น่าจะใช้เป็น Gotcha! หรือ I have got you จะตรงและเหมาะกว่า

"ได้ตัวแล้ว" ก็โอเคอยู่สำหรับ Here we go เพราะโรมาโน่ใช้เพื่อคอนเฟิร์มบอกว่า ได้แล้ว จบแล้ว เสร็จสิ้นแล้ว สำเร็จแล้ว ในบริบทพูดถึงการซื้อขายนักเตะ

ถ้าจะใช้มันบอกว่า Here we go = "ได้ตัว(นักเตะคนนั้น)แล้ว"
ผมว่าก็ใช้ได้อยู่นะ สุดท้ายความหมายมันก็เหมือนกันกับที่โรมาโน่ต้องการจะสื่อ

เราไม่จำเป็นต้องแปลภาษาอังกฤษแบบตรงๆตัว แต่เขียนให้มันเป็นโครงสร้างของภาษาไทย จะเห็นภาพและสื่อความหมายชัดกว่าไปแปลตรงๆ ซึ่งแบบนั้นมันก็เฉียดๆจะเป็นการใช้ google translate ไปซะเปล่าๆ

โรมาโน่ก็ยัง Here we go ให้กับ Icardi จนกระทั่งปี 2022 นี้

ส่วนอีกคำนึง ที่ต้องระวังให้ดีคือ "Here we go again" อันนี้ไม่ได้แปลว่า "ไปกันเลยอีกรอบ" หรือ "ลุยกันอีกรอบ" คำนี้แปลว่า อีกแระ, อีกละ, เอาอีกแล้ว เชิงแบบเซ็งๆมากกว่า เช่น

Europa League. Here we go again!
"เตะยูโรปาลีกอีกแล้ววววว"

เป็นต้น -*-

เวลาอ่านข่าวจากโรมาโน่ จะเห็นอีกคำที่น่าสนใจคือ "Here we go soon" คำนี้ก็ความหมายค่อนข้างชัดเจนว่า "อีกไม่นานจะปิดดีลแล้ว" หรือ "ใกล้จะปิดดีลแล้ว อีกไม่นานเร็วๆนี้"


Here we go soon!!!

อีกรูปแบบนึงของ "เหี่ย วี โก้ววว" จะใช้เพื่อบอกว่า นี่ของคุณ ในเวลาที่ส่งหรือ "มอบอะไรสักอย่าง" ให้คนอื่น ก็ใช้ Here We Go ได้เหมือนกัน (ในกรณีที่ผู้พูดอยากจะmeaningรวมตัวเองเข้ากับคนรับของ ในบริบทหรือสถานการณ์ตรงด้วย) แต่ปกติจะใช้คำว่า Here You Go มากกว่า

Here You Go จึงใช้ประกอบการส่งมอบอะไรให้ เช่น ไปเซเว่น สั่งเอสเปรสโซ่เย็นแก้วนึง พนักงานชงเสร็จ ก็อาจจะพูดกับเราว่า
"Here you go. Your Coffee"
นี่ครับ กาแฟพี่ได้แล้ว

หรืออีกตัวอย่าง เช่น
"Here you go. Your striker, Nunes The White Lukaku"
"นี่ครับผม กองหน้าทีมคุณ นูนเญซ ลูกากูร่างขาว" เป็นต้น


อีกคำนึงที่ความหมายเหมือน Here you go ก็คือ There You Go อันนี้ก็แปลเหมือนตัว Here you go เหมือนกัน แปลว่า "นี่ครับ นี่ค่ะ นี่อ่ะ อ่ะเนี่ย" เช่น "Where's my change" ไหนตังทอนผมครับ?
"There you go." นี่ค่ะ

หรือ "There you go. Mr. Guardiola. Your trophy. Too bad, you almost done the invincible if not a lose for United"
"นี่ค่ะคุณกวาร์ดิโอล่า ถ้วยแชมป์ของคุณ เสียดายเนอะ เกือบทำแชมป์ไร้พ่ายแล้ว ไปแพ้ยูไนเต็ดเกมเดียวเอง"

เป็นต้น.. (ฮา หยอกๆ กลัวแล้วจ้าาาาา)


แต่ There you go มีความพิเศษกว่า Here you go ที่ใช้แค่การส่งมอบสิ่งของให้อีกฝ่ายก็คือ There you go จะหมายถึง "นั่นไง ทำได้แล้วนี่" หรือ "เสร็จแล้วนี่" เวลาที่ทำอะไรสำเร็จเป็นต้น

เช่น โรนัลโด้เห็นการ์นาโช่ พยายามฝึกท่า "Ronaldo Chop" เลียนแบบตัวเองอยู่ แล้วน้องฝึกจนสำเร็จ พรี่โด้ก็จะทักน้องว่า There you go! "อ้าว ทำได้แล้วนี่" อย่างนี้เป็นต้น


ทั้งหมดนี้คือการอธิบายที่น่าจะพอทำให้เห็นภาพว่า สรุปที่เรารอ Here we go ของโรมาโน่เนี่ย ถ้าจะให้แปลเป็นไทยจริงๆ จากการรับรู้ว่าดีลนี้มันปิดสำเร็จแล้วนั้น จะแปลว่าอะไร

คำตอบก็คือ มันสามารถที่จะเลือกคำแปลได้ตามบริบทแบบโครงสร้างภาษาไทย และไม่ได้แปลตรงๆได้อย่างเดียวว่า "ไปกันเลย" หรือ "ลุยกันเลย" อะไรอย่างนั้นแค่แบบเดียวครับ

พูดแบบจิ๊กโก๋ๆยุค 70-80s หน่อย ภาษารุ่นพ่อรุ่นแม่ผมใช้ ยุคนั้นก็จะพูดกันแบบโจ๋ๆว่า

"เรียบร้อยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย"

ก็ได้เหมือนกัน ในความหมายของ "ฮ.ว.ก." Here We Go จาก Fabrizio Romano คนนี้นั่นเอง

-ศาลาผี-

References

https://m.allfootballapp.com/news/Serie-A/Here-We-Go-The-story-of-Fabrizio-Romano-the-28-year-old-transfer-insider/2739561

https://www.ldoceonline.com/dictionary/here-we-go

https://www.engnow.in.th/2019/08/here-you-go-there-you-go-here-we-go-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87/

https://board.postjung.com/769578

https://www.trueplookpanya.com/blog/content/67509/-blo-laneng-lan-

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด