:::     :::

โรงงานลูกหนังแห่ง "เร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก"

วันพุธที่ 26 เมษายน 2566 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
552
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
หากสโมสรฟุตบอลเปรียบเสมือนโรงงาน

เร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก ทีมดังจากลีกออสเตรีย ก็คือแหล่งผลิตนักเตะชั้นดีป้อนสู่ตลาด ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ เออร์ลิ่ง ฮาลันด์ ที่กำลังสร้างแรงสั่นสะเทือน ในวงการฟุตบอลยุโรป 


แน่นอนว่า มันก็เป็นช่วงเวลาที่ดาวรุ่งหลายคนกำลังผลัดใบสู่การเติบใหญ่ จนยักษ์ใหญ่ทั่วทวีปยุโรปอยากได้ตัวไปครอง ทำให้ชื่อของ “เร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก” ตกเป็นที่สนใจ 

หนึ่งในฟันเฟืองสำคัญของการปั้นคือชายที่ชื่อว่า "คริสตอฟ ฟรอยด์" นี่คือผู้อำนวยการกีฬาของเร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก ผู้ผ่านการค้นหาเพชรเม็ดงามมานับไม่ถ้วน 


ย้อนกลับไปช่วงปี 2012 เขาอยู่เบื้องหลังการคว้าตัวเด็กหนุ่มวัย 20 ที่แทบไม่มีใครรู้จักเลย นามว่า "ซาดิโอ มาเน่" หลังจากนั้น 2 ปี เขาก็ไปดึงวัยรุ่นอายุ 19 มาร่วมทีมอีก นามว่า "นาบี เกอิต้า" 


"เหตุผลที่สโมสรทำการขายนักเตะออกไป เพราะว่าเราอยากให้พวกเขายกระดับไปสู่ทีมที่ใหญ่กว่า"  ฟรอยด์ เริ่มเล่า 


"นี่คือปรัชญาของซัลซ์บวร์ก สิ่งสำคัญคือการคุยกับผู้เล่นอายุน้อย รวมถึงสื่อสารกับเอเย่นต์ และครอบครัวนักฟุตบอลเหล่านั้น เราแสดงให้เห็นว่า นักเตะที่มาที่นี่ ไม่ใช่นักเตะที่โด่งดังเลย"


"แต่ตอนนี้ พวกเขาได้ไปเล่นในลีกยักษ์ใหญ่ นี่คือสิ่งที่สำคัญมากของเรา ในฐานะของการเป็นสโมสรฟุตบอล"


"ทุกคนต่างรู้ดีว่า แมวมองของเรากำลังมองหาอะไรอยู่ เราสนใจนักเตะที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 20 ปี เรารู้ว่านักเตะที่ต้องการค้นหามีลักษณะเป็นแบบไหน"


"เราต้องการคนที่มีความรวดเร็ว, เฉลียวฉลาด, จิตใจดี, ตัวตนเยี่ยม และความคิดเฉียบคม บางที นี่อาจทำให้เราแตกต่างจากสโมสรอื่นเล็กน้อย"

ฟรอยด์ กล่าวต่อว่า “ความคิดของผู้เล่นมีความสำคัญมาก ผมบอกเสมอมาว่า ความคิดสำคัญมากกว่าความสามารถ”


“ผมขอยกตัวอย่างเช่น เมื่ออยู่นอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นเหล่านั้นเป็นคนยังไง ? เมื่ออยู่ในการฝึกซ้อม เขาเป็นคนยังไง ? เมื่อต้องพบเจอกับความพ่ายแพ้ เขาตอบสนองอย่างไร ? เมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมทีมคนอื่น เขาปฏิบัติอย่างไร ?”


“แน่นอนว่า เราทำการเก็บชุดข้อมูลเป็นจำนวนมาก ในทุกด้านของนักเตะคนนั้นๆ ทั้งในแง่ของการลงฝึกซ้อม บางครั้ง คุณอาจเห็นรายละเอียดปลีกย่อยในสนาม"


นอกจากระบบแมวมอง และการคัดสรรที่ดีแล้ว แชมป์ลีกสูงสุดของออสเตรีย 16 สมัย ยังมีอะคาเดมี่ที่แข็งแกร่งมาก 


ซึ่งศูนย์ฝึกลูกหนังของพวกเขาตั้งอยู่ภายใต้ร่มเงาของเทือกเขาแอลป์ ประกอบไปด้วยสนามฟุตบอลด้านนอก 6 สนาม และแบบในร่ม ไม่นับรวมถึงสนามแบบ 5 คน ภายใต้การดูแลของสตาฟประมาณ 120 คน และโค้ชฟุตบอลแบบเต็มเวลาอีก 20 คน 

เจาะลึกไปที่การทำงานในโรงยิม ถูกเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านการเก็บข้อมูลการฝึกซ้อมอย่างละเอียดจากระยะทางไกล 


กล่าวคือ โค้ชฟิตเนสสามารถกำหนดโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบดิจิทัล เพื่อที่จะสามารถออกแบบสำหรับผู้เล่นทุกคนได้ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ และวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง 


ส่วนของระเบียบวินัยก็เข้มงวดไม่แพ้กัน ผู้เล่นจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ หรือว่าสวมหมวกในโรงอาหารรวม รวมถึงการเล่นอินเทอร์เน็ตในห้องพัก หลังจากผ่านช่วง 22.00 น.ไปแล้ว


เรื่องนี้ แฟร้งค์ คราเมอร์ ผู้อำนวยการอะคาเดมี่ ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า "นักเตะต้องสมบูรณ์แบบมากขึ้น หากเทียบกับสมัยก่อน”


ย้อนกลับไป 10 ปีที่แล้ว นักเตะสามารถมีเพียงอาวุธเดียวได้ แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว อาทิ ความเร็ว, ทักษะ หรือกลยุทธ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ปัจจุบัน คุณต้องมีอาวุธที่สมบูรณ์มากขึ้น เพราะว่าทุกวันนี้ ช่องว่างของคุณภาพใกล้เคียงกันแล้ว"

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด