:::     :::

กฎฟุตบอลที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

วันศุกร์ที่ 08 มกราคม 2564 คอลัมน์ เด็กเก็บบอล โดย ยักษ์เดนส์
3,793
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ในโลกฟุตบอลปัจจุบันมีกฎมากมาย ต่างจากสมัยก่อน เพื่อให้เกมมีระเบียบในการแข่งขันมากขึ้น

แน่นอนว่าสำหรับผู้ออกกฎนั้นเป้าหมายคือทำให้เกมการแข่งขันดีขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือการส่งบอลคืนผู้รักษาประตูแล้วห้ามใช้มือรับ ไม่อย่างนั้นคงเป็นอะไรที่น่ารำคาญเหมือนกัน

ไม่ว่าคุณจะมีความรู้เกี่ยวกับการดูฟุตบอลมากแค่ไหน แต่ก็มีกฎที่แปลกๆแต่มีอยู่จริงในเกมฟุตบอลที่คุณอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน 

นอกเสียจากว่าคุณจะเป็นผู้ตัดสิน คงเข้าใจได้หากว่าไม่รู้ และนี่คือกฎ 10 ข้อที่คุณไม่อาจได้ยินมาก่อน

ไม่มีการล้ำหน้าในการเล่นลูกเตะมุม, ลูกทุ่ม และลูกตั้งเตะจากประตู


ลูกเตะมุมเป็นที่เข้าใจได้ว่านักเตะทั้งสองน่าจะแทบอยู่ในเขตโทษกันหมดอยู่แล้ว รวมถึงลูกทุ่มที่ก็มีไม่กี่คนในโลกนักหรอกที่จะมีพลังแขนแข็งแกร่งถึงขนาดทุ่มบอลได้เหมือนกับการเตะจนต้องห่วงพะวงการล้ำหน้า

แต่สำหรับลูกตั้งเตะจากประตูนั้นมีกฎใหม่ที่ระบุว่าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถอยู่ในเขตโทษได้ในระหว่างการเตะและสามารถโจมตีรวมถึงใช้ประโยชน์

จะว่าไปแล้วลูกตั้งเตะอาจจะมีการบีบเกมสูงกันบ้างเพื่อบีบให้คู่แข่งเตะบอลยาวออกไป ไม่ให้ต่อบอลโดยเฉพาะกับทีมที่ครองบอลเหนียวแน่น

ถึงกระนั้นก็มีหลายทีมที่ใช้ประโยชน์จากการเล่นลูกเตะมุมเร็วรวมถึงลูกทุ่มเร็วเพื่อเล่นงานคู่แข่งอย่างที่เราเห็นกันมาแล้วไม่น้อย

ต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 7 คนเพื่อให้การแข่งขันดำเนินไป


ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมากที่การแข่งขันจะดำเนินต่อไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะก่อนเกมหรือระหว่างแข่งขันยังไงผู้เล่นก็พร้อมที่จะดำเนินการแข่งขันต่อไปได้

แต่อย่างที่บอกว่าตราบใดที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งมีผู้เล่นในสนามไม่น้อยกว่า 7 คน เกมจะดำเนินต่อไปได้ เข้าใจง่ายๆคือหากไม่มีทีมใดทีมหนึ่งโดนใบแดลงไล่ออกจากสนามถึง 5 คนเกมถึงจะต้องหยุด

เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดได้ยากมากกับฟุตบอลสมัยนี้ที่มีความเข้มงวดมาก และการได้ใบแดงมากขนาดนี้สโมสรคงจะโดนปรับเงินอ่วมได้เหมือนกันที่มีนักเตะควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ขนาดนี้

ทั้งสองทีมต้องส่งนักเตะเท่ากันในการยิงจุดโทษ


อ่านหัวข้อแล้วอาจจะมีบางคนที่งงไปบ้าง โดยเหตุการยิงจุดโทษนั้นจะเกิดขึ้นในฟุตบอลถ้วยเท่านั้นทั้งในระดับสโมสรหรือทีมชาติ

อธิบายก็เข้าใจก็คือหากทีมเอ เจอกับทีมบี ตลอดเกมการแข่งขัน มีนักเตะจากทีมเอโดนใบแดงไล่ออกจากสนามเหลือ 10 คน และจบเกมด้วยการเสมอและต้องดวลจุดโทษกัน นักเตะที่ส่งชื่อของทีมเอจะเหลือแค่ 10 คน ดังนั้นทีมบีจะส่งผู้เล่นได้ 10 คนเท่านั้น หรือตัดนักเตะออกไปหกนึ่งคนนั่นเอง

เหตุการณ์ชัดๆเลยก็คือย้อนกลับไปในเกมฟุตบอลโลก 2006 ที่ ฝรั่งเศส เจอกับ อิตาลี ในเกมดังกล่าวมีเหตุการณ์ที่สะท้อนโลกที่ ซีเนดีน ซีดาน เอาหัวโขกใส่หน้าอก มาร์โก มาร์เตรัซซี่ จนโดนใบแดง ซึ่งสุดท้ายเกมจบลงด้วยการเสมอต้องดวลจุดโทษกัน

"ตราไก่" ส่งนักเตะที่เหลือสำหรับการยิงจุดโทษ ส่วน อิตาลี มีนักเตะครบ 11 คน ทำให้ต้องตัดชื่อนักเตะออกหนึ่งคนเพื่้อเหลือ 10 คนเท่ากัน สุดท้ายหวยไปออกที่ เจนนาโร่ กัตตูโซ่ ที่โดนตัดชื่ออกไปนั่นเอง

ไม่มีการล้ำหน้าหากอยู่ในแดนตัวเอง


อีกอันสำหรับกฎล้ำหน้า หากไม่มีกฎนี้เราคงได้เห็นผู้เล่นฝั่งตรงข้ามยืนในเขตโทษคู่แข่งคุยกับผู้รักษาประตูฝ่ายตรงข้ามแน่นอน

แต่การล้ำหน้าอย่างที่เรารู้กันว่าหากจังหวะที่ผู้เล่นฝ่ายบุกผ่านบอลออกจากเท้าแล้วเพื่อนร่วมทีมอยู่สูงกว่าผู้เล่นคู่แข่ง นั่นจะเป็นการล้ำหน้า แม้ว่าหลายต่อหลายครั้งเราจะเห็นความผิดพลาดกันบ้างของผู้กำกับเส้น แม้ว่าจะมีวีเออาร์เข้ามาช่วย แต่ก็ยังมีเสียงวิจารณ์กันอยู่พอสมควร

แต่กฎนี้ใช้ไม่ได้หากนักเตะฝ่ายยังอยู่ในแดนของตัวเอง แม้ว่าจะยืนอยู่สูงกว่าคู่แข่งก็ตาม ซึ่งหลายครั้งเราคงได้เห็นกันในจังหวะที่แนวรับฝั่งหนึ่งยืนกันสูงเกินไปหรือโดนชิงจังหวะไม่ดีทำให้คู่ต่อสู้หลุดเดี่ยวเข้าไปยิงประตูได้นั่นแหละ

ผู้รักษาประตูใส่ชุดวอร์มลงเฝ้าเสาได้


ผู้รักษาประตูถือเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิพิเศษกว่านักเตะในตำแหน่งอื่น เห็นได้ชัดเลยก็คือการใช้มือนั่นแหละที่นักเตะตำแหน่งอื่นไม่สามารถทำได้

นอกจากนี้อย่างที่หัวข้อบอกอย่างชัดเจนว่านายทวารสามารถใส่ชุดวอร์มลงเฝ้าเสาได้ ที่เห็นได้ชัดก็คือการใส่กางเกงวอร์มขายาวในการลงสนามนั่นแหละ

เมื่อพูดถึงมือกาวที่สวมกางเกงวอร์ม ที่ติดตาก็คือ เรเน่ อีกีก้า ผู้รักษาประตูทีมชาติโคลอมเบียที่ใส่ให้เราดเห็นกันอยู่บ่อย และการโชว์ "สกอร์เปี้ยน คิก" ในเกมอุ่นเครื่องที่เจอกับ อังกฤษ ช่วงเป็นอะไรที่น่าหมัศจรรย์จริงๆ

ผู้เล่นโดนไล่ออกได้แม้ช่วงวอร์มอัพ


ถือเป็นกฎที่เกิดขึ้นมาไม่นานเมื่อปี 2016 นี่เอง เพื่อป้องกันการกระทำความผิดของผู้เล่นในระหว่างที่อยู่ในอุโมงค์ก่อนเกมนั่นเอง

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าทีมที่มีนักเตะโดนไล่ออกก่อนเกมจะต้องออกสตาร์ทด้วยผู้เล่นแค่ 10 คน ซึ่งหากส่งชื่อไปแล้วและเป็นตัวจริง ก็ต้องออกจาก 11 คนแรกและไม่ได้อยู่ในฐานะตัวสำรองด้วยเช่นกัน ก็คือมีตัวสำรองน้่อยกว่าคู่แข่งนั่นแหละ

ย้อนกลับไปในเกมยูโรปา ลีกเมื่อปี 2016/17 ปาทริซ เอวร่า เมื่อครั้งอยู่กับ มาร์กเซย ไปเตะใสแฟนบอล ซึ่งท้ายที่สุดก็ถูกถอดชื่อออกและไม่ได้ถูกส่งชื่ออยู่ในทีมในเกมดังกล่าว

ผู้รักษาประตูถือบอลได้ไม่เกิน 6 วินาที


เคยแอบคิดกันในใจรึเปล่าว่าทำไมผู้รักษาประตูมันไม่ปล่อยบอลออกจากมือสักที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ทีมเชียร์เป็นฝ่ายตามและนายทวารคู่แข่งถือว่าในมือ

ตามกฎของฟีฟ่าระบุว่าผู้รักษาประตูไม่สามารถถือว่าเกินกว่า 6 วินาทีหลังจากที่รับบอลเข้ามือไม่ว่าจะเป็นลูกยิงหรือลูกเปิดจากทางด้านข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ถือบอลนานจนเกินไป

แม้ว่าบ่อยครั้งจะดูเหมือนว่าเหล่าบรรดานายทวารจะถือบอลนานกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลาที่ทีมนำอยู่ แต่หากมันไม่นานจนน่าเกลียดเกินไปน้อยครั้งมากที่ผู้ตัดสินจะเป่าฟาวล์แล้วให้ฟรีคิกสองจังหวะในเขตโทษกับอีกฝั่ง

จังหวะฟรีคิกผู้เล่นฝั่งรุกห้ามแทรกกำแพง


กลายเป็นสิ่งที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆเวลาทีมบุกได้ฟรีคิกที่หวังผลได้มักจะมีนักเตะเข้าไปแทรกอยู่ในกำแพง ซึ่งจะเข้าไปเพื่อเบียดเปิดช่องรวมถึงบดบังสายตาของผู้รักษาประตูก็ตาม

นั่นทำให้เกิดกฎขึ้นมาว่าฝ่ายรุกห้ามมีผู้เล่นไปเป็นส่วนหนึ่งหรือเข้าใกล้กำแพง ซึ่งทางคณะกรรมการฟุตบอลระหว่างประเทศอธิบายในเรื่องนี้ว่า "ทีมบุกที่อยู่ใกล้หรืออยู่ในกำแพงป้องกันเมื่อได้ฟรีคิกนั้นทำให้เกิดปัญหาและเสียเวลา ไม่มีเหตุผลทางแท็คติคสำหรับทีมบุกที่จะเข้าอยู่ใฝนกำแพงแบะการทำอย่างนั้นทำลายภาพลักษณ์ของเกม"

สิ่งนี้ก็คงจะทำให้เราเห็นการเล่นฟรีคิกลูกสูตรจ่ายบอลให้เพื่อนยิงหรือทำชิ่งอะไรกันไป หรือก็ปั่นข้ามกำแพงอะไรไปเลย

คนสังหารจุดโทษห้ามตามซ้ำจนกว่าจะมีคนอื่นโดนบอลก่อน


จุดโทษถือเป็นส่วนหนึ่งของเกมฟุตบอลเพื่อป้องกันไม่ให้ทีมรับเล่นอันตรายยามอยู่ในกรอบ แม้บางครั้งมันก็มีเกิดขึ้นบ้างก็ตาม

แต่มันก็มีกฎสำหรับผู้ที่รับหน้าที่สังหารจุดโทษอยู่เหมือนกันเมื่อจัดการสับไกไปแล้ว หากว่าบอลชนเสาหรือชนคานแล้วเด้งออกมานั้น คนที่ยิงจุดโทษไม่สามารถซ้ำดาบสองได้ในทันที

นอกซะจากว่าบอลเด้งออกมาแล้วมาโดนเพื่อนร่วมทีมหรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนหรืออีกกรณีนึงก็คือยิงติดเซฟนั่นแหละถึงจะสามารถตามซ้ำจังหวะสองได้

ยิงฟรีคิกเข้าประตูตัวเองไม่ได้

        

ลูกฟรีคิกถือเป็นอีกหนึ่งทีเด็ดสำหรับการทำประตู ดังนั้นเราจะได้เห็นลูกสวยๆจากการปั่นโค้งเสียบตาข่าย ยิงยัดลอดกำแพงหรือแม้แต่อัดเต็มข้อล่อเต็มแข้ง

แต่สิ่งหนึ่งของกฎฟุตบอลก็คือการเตะลูกฟรีคิกลอยเข้าประตูตัวเองนั้นไม่นับว่าเป็นประตูให้กับคู่แข่งได้

นอกซะจากว่าฟรีคิกลูกนั้นจะมีการสัมผัสกับใครก็ตามที่อยู่ในสนาม (เอ่อ... ไม่นับผู้ตัดสินนะครับ) คือไม่ว่าจะโดนคู่แข่งหรือเพื่อนร่วมถึง ถึงจะถือว่าเป็นประตูนั่นเอง

แต่เรื่องนี้เห็นได้ยากจริงๆ นอกจากฟรีคิกริมเส้นเขตตัวเองแล้วไหลคืนให้ผู้รักษาประตูจะจับบอลไม่ดีเฉี่ยวปลายสตั๊ดแล้วกลิ้งเข้าประตูตัวเองนั่นแหละ


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด