:::     :::

ย้อนวันวานกรรมการมือหนึ่ง "ปิแอร์ลุยจิ คอลลิน่า"

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564 คอลัมน์ Zero to Hero โดย บังคุง
4,286
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
วงการฟุตบอล ยังคงเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง

นอกจากผู้จัดการทีม และนักเตะในสนามแล้ว หนึ่งคนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาด และมีอิทธิพลต่อผลการแข่งขันในสนาม นั่นคือบุคคลที่เรียกว่ากรรมการโดยเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทาง และผลการแข่งขันได้เลย 


ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ตัดสินมาพร้อมกับการตัดสินใจเสมอ โดยต้องแลกมากับทั้งความถูกต้อง และความผิดพลาด ..... แน่นอนว่า ผู้ตัดสินมักเป็นจำเลยคนแรกๆ ในโลกลูกหนังที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี ที่สามารถย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ต่างๆอย่างรวดเร็ว


อย่างไรก็ตาม ผู้ตัดสิน 1 คนที่ถูกยกย่องว่า เป่าตัดสินได้อย่างเที่ยงตรง และเกิดความผิดพลาดน้อยมาก นั่นก็คือปิแอร์ลุยจิ คอลลิน่ากรรมการระดับตำนานชาวอิตาเลี่ยน ที่ลงตัดสินอาชีพ ระหว่างปี 1988-2005 


คอลลิน่า ถูกหลายคนยกย่องให้เป็นผู้ตัดสินที่เก่งสุดตลอดกาล เขาฝากผลงานการเป่าในเกมสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลโลก, ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก, ยูฟ่า คัพ และโอลิมปิก เกมส์ รวมไปถึงลีกที่เต็มไปด้วยความยากในแท็คติคการเล่นอย่างกัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี รวมเวลาเกินกว่าทศวรรษ


ช่วงนี้ เราไปดูกันหน่อยว่า ทำไม คอลลิน่า  ถึงประสบความสำเร็จอย่างมากในเส้นทางการเป็นกรรมการ โดยเป่าออกมาได้อย่างเที่ยงตรง และสามารถสร้างความยำเกรงให้กับผู้จัดการทีม และนักเตะได้อย่างน่าชื่นชม

คอลลิน่า เริ่มต้นกล่าวว่า สิ่งแรกที่จำเป็นต้องเรียนรู้ในการเป็นผู้ตัดสิน นั่นคือความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เพียงแต่เราต้องรับมือ และรีบลืมมันไป พร้อมกับเริ่มต้นใหม่อย่างมีบทเรียน โดยที่พยายามไม่ให้มันเกิดซ้ำอีก 


อีกหนึ่งแนวความคิดที่สำคัญมากคือ อย่าเป่าเพื่อลดความผิดพลาดของตัวเอง เช่นการเป่าชดเชยลูกจุดโทษ หรือเป่าชดเชยจังหวะฟาวล์ ให้กับทีมที่เพิ่งเป่าผิดพลาด


เพราะการทำแบบนั้น เหมือนเป็นการเพิ่มความผิดพลาดให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเขาย้ำเสมอว่า ไม่ควรนำความรู้สึกแบบนี้ลงไปทำหน้าที่ในสนามแข่งขัน 


นอกจากการตัดสินใจที่เฉียบขาด และความแม่นในเป่านกหวีดแล้ว หนึ่งสิ่งที่ทำให้ทางคอลลิน่า สามารถที่จะยืนระยะ และประสบความสำเร็จ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า "การเตรียมความพร้อม"


นี่คือสิ้งที่เขายึดมั่น และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ความผิดพลาดในสนามเกิดขึ้นน้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ 

คอลลิน่า เสริมว่า "การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญมาก ก่อนที่ผมจะลงทำหน้าที่ตัดสินในนัดต่อไป ผมจะนั่งดูเทปการเล่นของทั้งสองทีมอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หากมีเวลามมากกว่านั้น ผมจะใช้เวลาประมาณ 4 วันต่อสัปดาห์ เพื่อศึกษา และทำการบ้านอย่างหนัก 


เจ้าของฉายาหัวหลอดไฟ เพิ่มเติมว่าผมจะศึกษา และอ่านข้อมูลของนักเตะอย่างละเอียด โดยที่ใช้เวลารวมประมาณ 15 ชั่วโมง ในการนั่งศึกษาเทปวิดีโอ สิ่งแรกที่ผมทำคือ จดจำแนวทางการเล่นของพวกเขาผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ รวมถึงกลยุทธ์ในสนาม ทั้งเกมรุก และเกมรับด้วย


"สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณต้องทราบการขับเคลื่อนทีมของพวกเขา ทั้งการเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงการเล่นจังหวะอย่างลูกฟรีคิก, เซ็ตพีซ หรือเตะมุม หลังจากนั้น ผมจะนั่งวิเคราะห์นักเตะแต่ละคน เนื่องจากการทำทีม จะขึ้นอยู่กับนักเตะที่หลากหลาย"

เรื่องดังกล่าว รับการยืนยันจากปากของเกรแฮม โพลล์อดีตกรรมการชื่อดังชาวอังกฤษ ที่รับหน้าที่เป็นผู้ตัดสินที่ 4 ในเกมฟุตบอลโลก 2002 รอบ 16 ทีมสุดท้าย ระหว่างทีมชาติญี่ปุ่น กับตุรกี 


โพลล์ ออกมากล่าวถึงความละเอียดในการทำงานของคอลลิน่า ที่เป็นผู้ตัดสินในเกมดังกล่าวว่า "คอลลิน่า จะวาดแผนผังการเล่นลงบนกระดาน หลังจากนั้น เขาจะบอกเราว่า ทั้งสองทีมมีแนวทางการเล่นเป็นอย่างไร


รวมถึงรายละเอียดที่กรรมการหลายคนมักมองข้ามไป นั่นคือนักเตะคนไหนที่อารมณ์ร้อน และควรใส่ใจเป็นพิเศษ พร้อมกับแจกแจงเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นระหว่างเกม


โพลล์ ทิ้งท้ายว่าคอลลิน่า มักพูดครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดอย่างน่าเหลือเชื่อ ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ สิ่งที่เขาบอกกับทีมงานผู้ตัดสิน ไม่มีเรื่องไหนผิดเลย  นี่คือปัจจัยที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})