:::     :::

ดราม่าไม่ถ่ายทอดสด

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2565 คอลัมน์ ฉันดูบอลที่ร้านเหล้า โดย ดากานดา
853
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ดูเหมือนผลการแข่งขัน อาเซียนคัพ นัดเปิดสนามที่ ไทย ถล่ม บรูไน 5-0 จะถูกแย่งซีนไปอย่างสิ้นเชิง

สื่อ (บางเจ้า) รวมถึงแฟนบอลต่างรุมอัดประเด็น “ไม่มีการถ่ายทอดสด” ฟุตบอลรายการนี้มากกว่า จนต้องเสาะหา “ช่องทางธรรมชาติ” ชมเกมแทน

ไม่เว้นแต่คอมเมนต์ต่าง ๆ ในแฟนแฟนเพจออฟฟิเชียลทีมชาติไทย ที่รายงานผลการแข่งขัน ทว่ากลับถูกละเลงด้วยเรื่องปมถ่ายทอดสดแทน

ถามว่าสมาคมฟุตบอลฯ ไม่อยากถ่ายทอดสดหรือ ? ก็คงไม่ เพราะรู้ดีแก่ใจว่าจะโดนกองทัพคีย์บอร์ดรัวแป้นพิมพ์ถล่มแน่ ๆ หากแฟนบอลไม่ได้ดู

หากแต่มันมี “ปัจจัย” อื่น ๆ เข้ามาเพิ่มในทัวร์นาเมนต์นี้

อย่างแรกเลย การขายสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียนหนนี้ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน หรือ เอเอฟเอฟ ได้ว่าจ้างบริษัท สปอร์ตไฟว์ จากเยอรมัน มาเป็นผู้เจรจาในการขายลิขสิทธิ์

ราคาค่าถ่ายทอดสดถูกตั้งไว้ที่ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (76 ล้านบาท) เมื่อคุณจ่ายเงิน คุณจะได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดครบทั้ง 26 แมตช์ ฟูลแพ็กเกจ

ที่เป็นปัญหาคือ สปอร์ตไฟว์ ไม่ยอมขายแพ็กเกจ “แยกนัด” แต่จะขายแบบรวมเท่านั้น


ทางฝั่งไทยเองพยายาม “เจรจา” ขอซื้อเฉพาะเกมที่ทีมชาติไทยแข่ง เพราะเกมที่ทีมชาติไทยไม่เตะจะมีคนดูสักกี่คน ทีวีก็ขายโฆษณาก็คงไม่ได้ แต่ สปอร์ตไฟว์ ที่ถือแต้มต่อในฐานะผู้ขายลิขสิทธิ์ ก็ไม่ยอม ยืนกรานว่าเอ็งต้องซื้อเหมา

ซึ่ง 76 ล้านบาท ในสภาวะเศรษฐกิจประเทศเพิ่งฟื้นตัว ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก

หากมีบริษัทเอกชน หรือช่องไหนกล้าทุ่มซื้อลิขสิทธิ์ไป เขาเองเองก็ต้องมั่นใจว่าจะหา “ค่าโฆษณา” ให้ได้ในจำนวนพอ ๆ กับค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่จ่ายไป ไม่งั้นก็เจ๊งตายห่า

อีกทั้งกระแสฟุตบอลไทยที่ผ่านมา ก็เริ่ม “ลดลง” ด้วยผลงานไม่เป็นไปตามที่แฟนบอลคาดหวังไว้

ไหนจะศึกอาเซียนคัพหนนี้ “ช้างศึก” ก็ไม่ได้มีดาวเด่นระดับสตาร์หลายคน ที่สโมสรมีสิทธิ์ “ไม่ปล่อยตัว” มาเล่น เนื่องจากทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในปฏิทินฟีฟ่าเดย์

เมื่อกระแสแฟนบอลลดลง เศรษฐกิจเพิ่งฟื้น ผู้เล่นที่ไปแข่งหนนี้ไม่ใช่ชุดที่ดีที่สุด แถมค่าลิขสิทธิ์ก็แพงฉิบหาย บริษัทเอกชนนั่งคิดดูแล้วอย่างไรก็ไม่คุ้ม มีแต่ขาดทุน

เอกชนทำ “ธุรกิจ” ไม่ใช่ “โรงทาน” เมื่อไม่คุ้มอั๊วไม่จ่าย ก็ถูกแล้ว

ทีนี้คำถามคือ แล้วเหตุใดเกือบทุกประเทศในอาเซียน มีปัญญาจ่ายให้คนประเทศเขาดูได้ แต่ไทยไม่มีปัญญาจ่าย ?

คำตอบคือ เขาไม่ได้ขายในราคาเดียวกับชาติอื่นไง


ยกตัวอย่างเวลาคุณเปิดร้านเหล้า แล้วมี “ผู้หวังดี” มาเก็บค่าดูแลสถานที่จากคุณ ซึ่งร้านคุณกับร้านข้าง ๆ มีพื้นที่ขนาดเท่ากัน ขายเหล้า-เบียร์ เหมือนกัน แต่ร้านคุณลูกค้าแน่นกว่าร้านในละแวกเดียวกัน ผู้หวังดีเขาก็เห็นว่าร้านนี้คนเยอะ ก็จะขอค่าดูแลจากร้านคุณในอัตราที่สูงกว่าร้านอื่น ๆ

ไม่ต่างจาก สปอร์ตไฟว์ เขาคำนวณจากสถิติเรตติ้งถ่ายทอดสดฟุตบอลอาเซียนคัพครั้งก่อน ของประเทศไทย พบว่ายอดคนดูในไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อรู้ว่าคนไทยดูเยอะ งั้นก็ตั้งราคาให้สูงไว้ก่อน เพราะรู้ว่าถ้าไทยไม่ยอมจ่าย เจอประชาชนก่นด่ายับแน่

แต่บังเอิญภาครัฐไม่เอาด้วย เอกชนก็มองว่าไม่คุ้ม สุดท้ายสมาคมฟุตบอลฯ กลายเป็นตำบลกระสุนตกแทน

แล้วจะทำอย่างไร ?

วิธีแก้ปัญหาง่าย ๆ นอกจาก “ช่องทางธรรมชาติ” ที่หลายคนหาหาดู อยากให้พี่ ๆ แฟนบอลไทยที่ด่ากันไม่หยุดลอง “ซื้อบัตร” เข้าไปชมเกมในสนามบ้าง หากสะดวก ไม่ติดภารกิจอะไร เพราะปีนี้กลับมาแข่งขันแบบเหย้า-เยือน และมีอย่างน้อย 2 เกม ที่ทีมชาติไทยจะได้เล่นในบ้านตัวเอง

ถ้าเกิดแมตช์แข่งในบ้านแล้วคนดูเต็มสนาม บรรยากาศดูมีชีวิตชีวา บรรดาภาคเอกชนที่เขาเห็นช่องทางหากำไรได้ ก็จะเข้ามาลงทุนเอง

กระแสฟุตบอล นอกจากนักฟุตบอลแล้ว แฟนบอลในสนามเองก็มีส่วนดึงดูดภาคเอกชน ผู้สนับสนุน ให้เข้ามาซัพพอร์ตด้วยเช่นกัน

หรือจะเฝ้าหน้าจอ งอแงรอดูแต่ของฟรี ไม่อยากเสียเงิน ก็ตามแต่พวกพี่สะดวกเลย


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด