:::     :::

Tactical Analysis หน้าที่ของเอริค มิทเชล สตีฟ และข้อดีข้อเสียปีนี้

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 คอลัมน์ #BELIEVE โดย ศาลาผี
5,091
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
บทบาทของเอริค เทน ฮาก และผู้ช่วยสองคน มิทเชล ฟาน เดอร์ คาก และ บิ๊กแมค สตีฟ แมคคลาเรน มีหน้าที่อย่างไรบ้าง แบ่งงานกันยังไง และปีนี้แมนยูดีขึ้น หรือย่ำแย่จุดไหนในภาพรวมจากการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติและแทคติกต่างๆ บทความนี้มีคำตอบ!

อย่างที่เราเห็นกันว่า เอริค เทน ฮาก ไม่เคยลืมที่จะยกย่องและให้เกียรติทีมงานสตาฟฟ์ของเขาเสมอ มีเนื้อหารายงานล่าสุดของดิแอธเลติกพูดถึงการทำงานของทริโอผู้จัดการทีมและผู้ช่วยผู้จัดการทีมอีกสองคน เอริค เทน ฮาก, มิทเชล ฟาน เดอ คาก และ สตีฟ แมคคลาเรน โดยมีเนื้อหาระบุว่า


: เอริคนั้นไม่ค่อยปล่อยเวลาว่างให้นักเตะเสียเปล่า พวกเขาจะทำงานกันตลอดเวลา ถึงนักเตะจะลงสนามไม่ได้แต่เอริคก็จะคอยสอนอะไรต่างๆอยู่เสมอ ซึ่งตอนนี้มันกลายเป็นวัฒนธรรมในการฝึกสอนภายในสโมสรไปแล้ว

เอริค เทน ฮาก ตรงไปตรงมากับนักเตะอย่างมาก เพราะงั้นพวกนักเตะจะรู้และเข้าใจอย่างดีว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ หรืออะไรไม่ต้องการ แหล่งข่าวใกล้ชิดสโมสรเล่าว่า สิ่งหนึ่งที่นักเตะหลายๆคนพูดว่าชอบในเรื่องนี้ของเขา นั่นก็คือการมีตติ้งกันแบบสั้นๆแต่สื่อสารข้อความแบบชัดเจน

: บทบาทของมิทเชล ฟาน เดอร์ คาก ก็ไม่ควรถูกมองข้าม เขาเป็นผู้ coaching ด้านเทคนิคและแทคติก ได้รับการเล่าขานระบุว่า 'ดีเป็นพิเศษ' เอริคอยู่ในบทบาทที่เป็นเหมือนซุปมากกว่า(หัวหน้างานSupervisor) ที่จะคอยเสริมให้เวลาที่เขาต้องการเพิ่มเติมวิธีการของเขาเข้าไปใช้งาน 

ฟาน เดอร์ คาก ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง และถึงแม้เขาจะเป็นสไตล์ดัตช์ แต่ก็สามารถพูดคุยโต้แย้งกันได้

: สตีฟ แมคคลาเรน เป็นสายฮีล บางทีเนื้อหาการทำงานต่างๆมากมายถูกอัดให้นักเตะหมดแล้วเรียบร้อย แต่บางครั้งก็ยังต้องการคำแนะนำดีๆ หรือการดูแลใกล้ชิด ซึ่งนั่นคือบุคลิกของทางฝั่งสตีฟ แมคคลาเรน เขาได้พัฒนานักเตะรายบุคคลไปมากมายในปีนี้ ถ้าส่วนอื่นมอบเนื้อหาด้านหน้าที่การเล่น และการรรับผิดชอบในสนามแล้ว ก็จะได้แรงโอบอุ้มจากความรักและการซัพพอร์ตนักเตะคนนั้นๆด้วยกัน

ส่วนคนอื่นๆ อย่าง เบนนี่ แม็คคาร์ธีย์ดูแลเรื่องการซ้อมเกมรุก ขณะที่เอริค แรมซีย์ดูแลเซ็ตพีซของเกมรุกและเกมรับ และรับผิดชอบหลายอย่าง

การทำงานร่วมกันของสามคนนี้เข้าขาและผลิตผลงานกันได้อย่างดี ทั้ง Erik, Mitchell, Steve และยังมีการ coaching อีกหลายๆอย่างที่ซัพพอร์ตเพิ่มเติม ทำให้งานที่นี่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

การเลือกทีมของเทน ฮาก

การลงภาคฝึกซ้อมของฟาน เดอร์ คาก 

และการดูแลอภิบาลทีมของแมคคลาเรน 

สามอย่างหลักๆนี้ทำให้นักเตะหลายๆคนที่เคยลำบากมาก่อน ได้มีฟอร์มการเล่นที่ยกระดับขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่นกรณีของ อารอน วานบิสซาก้า ที่ดีขึ้นแบบผิดหูผิดตา และได้ใช้ศักยภาพที่แท้จริง ซึ่งเราไม่เคยเห็นมาก่อนในตลอดหลายๆปีก่อนนี้

นักเตะอย่างแรชฟอร์ด ก้าวเข้าสู่ช่วง Prime ได้แล้วในฤดูกาลของยุคเทน ฮาก

ลินเดอเลิฟ กลับมาเป็นมนุษย์น้ำแข็งที่ไม่ก่อความผิดพลาด และเยือกเย็นในเกมรับ เขากล่าวประโยคหนึ่งเอาไว้ที่ทำให้รู้ว่า ทีมงานของแมนยูไนเต็ดสำคัญขนาดไหน

"ทุกๆคนรู้เป็นอย่างดีว่าอยู่ในสนามจะต้องทำอะไรบ้าง เรามีระบบ และทุกๆคนรู้บทบาทของตัวเองเป็นอย่างดี"


คนที่รู้มือกันดีที่สุดคือ ฟาน เดอร์ คาก คงจะทำหน้าที่ถ่ายทอดและดูแลควบคุมงานทั้งหมดภายใต้ทิศทางที่กำหนดโดยผู้จัดการทีมอย่างเทน ฮาก เอาไว้ โดยมีประสบการณ์เก๋าๆของแมคคลาเรนคอยซัพพอร์ตอีกทีหนึ่ง ซึ่งบทบาทของแมคคลาเรนสำคัญมากๆที่ทีมจะต้องมีสตาฟฟ์ผู้ซึ่งรู้ดีว่า "ทำยังไงทีมถึงจะคว้าแชมป์ได้" แบบบิ๊กแมค

ปีนี้แมนยูไนเต็ดมีผลสัมฤทธิ์ในด้านดีหลายอย่าง ขณะที่จุดอ่อนก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ชัดเจน เบื้องต้นขอนำเสนอจุดที่ทีมดีขึ้นในฤดูกาลนี้ก่อน อย่างแรกคืออัตราการเล่น Counter-attack ที่แนวโน้มดีขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้านี้มาก วัดจากช่วงพีคก็ถือว่าดีขึ้นเรื่อยๆจนเข้าใกล้ช่วงที่ทีมของโซลชาตอนนั้นที่เน้นเกมสวนกลับ พูดง่ายๆว่าเกมเคาท์เตอร์ของแมนยูเริ่มกลับมาพีคขึ้นเรื่อยๆ ก็อย่างที่แฟนบอลเห็นกันว่าปีนี้เราเล่นเกมเร็วในจังหวะ transition play ค่อนข้างเยอะ

นอกจากเรื่องเกมสวนกลับด้านบนนี้แล้ว สถิติการเพรสซิ่งของทีมก็ดีขึ้นตามลำดับด้วย หลังจากตกลงไปในช่วงฟอร์มดรอปของซีซั่นที่แล้ว เทน ฮาก ค่อยๆนำเกมเพรสซิ่งกลับมาสู่ในเลเวลที่ดีขึ้น สังเกตจากค่า PPDA หรือ Passes Per Defensive Action ค่ายิ่งน้อยแปลว่า คู่ต่อสู้ยิ่งออกบอลกันได้น้อยก่อนจะโดนเพรสซิ่งจัดการ เทน ฮาก ทำทีมให้มีการเพรสซิ่งเป็น trend ที่สูงขึ้นตามลำดับจริงๆโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล ราวๆเกมนัด30 แถวๆนั้น พีคมาก

อีกจุดหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของการวิ่งเติมจากนักเตะที่ไม่มีบอลอยู่กับตัวเข้าไปยังกรอบเขตโทษ (off-ball runs into the box) ตามข้อมูลจากด้านล่างนี้ เป็นหนึ่งการพัฒนาที่ทีมยุค เทน ฮาก ทำได้สำเร็จ ซึ่งอันนี้เห็นชัดเจนว่า บอลเทน ฮาก ต้องการให้นักเตะเติมเกมเข้ากรอบเขตโทษกันในปริมาณมาก ตามลักษณะของบอลผสมผสานระหว่าง Possession-based game กับฟุตบอลสาย Overloaded ที่มีตัวตนการโถมเกมบุกชัดเจน

เวลาบอลเทน ฮาก เข้าที่เข้าทาง จะเป็นบอลบุกที่ยิงถล่มทลายมากๆเพราะปรัชญานี้ ซึ่งก็เป็นคนละรูปแบบกับเป๊ปที่เน้นเรื่อง Positional Play เหมือนกัน

ตัวตนบอลโอเวอร์โหลดของ EtH สามารถเห็นได้จากค่าสถิติการวิ่งเติมเข้ากรอบนี้ ซึ่งเป็นจุดถนัดของสามมิดฟิลด์ในทีมที่เติมเก่งๆอย่าง มาร์เซล ซาบิทเซอร์(รอซื้อ), ดอนนี่ ฟานเดอเบค(รอหาย) และ คาเซมิโร่ (กองหน้าผู้เล่นมิดฟิลด์ได้นิดหน่อย) การเล่นเติมเข้ากรอบของนักเตะที่ไม่ได้มีบอลอยู่ในครอบครอง เป็นสิ่งสำคัญมากของบอลเอริค เทน ฮาก

นั่นคือข้อดีที่เห็นความเปลี่ยนแปลงในฤดูกาลนี้ แต่ข้อเสียก็ยังมีอีกเยอะที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

ประเด็นแรก อัตราการจบสกอร์ที่มีปัญหาอยู่เรื่องการขาดความเฉียบคม และสถิติที่บรูโน่จ่ายบอลสร้างสรรค์โอกาสได้เยอะมาก แต่เปลี่ยนเป็นแอสซิสต์ได้น้อยเพราะเพื่อนร่วมทีมมีปัญหาในจังหวะจบนี่แหละ

ค่า xG ของสโมสรเราสูงกว่าจำนวนประตูที่ยิงได้จริง นั่นแปลว่าทีมขาดความเฉียบคมในจังหวะที่มัน "ควรเป็นประตู" ตามโอกาสที่เกิดขึ้นระหว่างเกม จุดนี้จะต้องแก้ไขด้วยการเติมกองหน้าดีๆเข้ามา และยกระดับตัวรุกที่มีอยู่ให้ยิงประตูกันเฉียบคมกว่านี้

ประเด็นที่สอง เรื่องฟุตบอลที่ต้องการ build-up จากแผงหลัง เวลาที่ทีมอยู่ใน phase I "on the ball" หลายๆครั้งทีมมักจะโดนเพรสซิ่งสูงเล่นงาน และเอาจริงๆก็โดนคู่แข่งโจมตีจากเรื่องนี้บ่อยๆ 

แผนของยูไนเต็ดในการ build-up ปกติจะยืนกันเป็น 3-1 กองหลังสามตัวเซ็ตบอลกัน โดยมีมิดฟิลด์ตัวต่ำรอรับบอลช่วยอยู่ข้างหน้า

หนึ่งในสองวิงแบ็ค จะมีข้างหนึ่งดันสูง อีกข้างจะอยู่ต่ำเพื่อช่วยเซ็นเตอร์แบ็คสองคนไว้ ตามภาพข้างล่างนี้

ถ้าไม่เช่นนั้น แบ็คหนึ่งตัวก็อาจจะหุบเข้ากลางในลักษณะ Inverted-full back เพื่อช่วยให้ตัวกลางมีนักเตะเพิ่มขึ้น อินเวิร์ทสู่ฟอร์มการยืนแบบ 3-2 (หลังสามกลางสอง) แบบในรูปนี้ที่ดาโลต์หุบเข้าใน ขณะที่กลางบางคนถอยต่ำลงมาช่วยเซ็นเตอร์ อย่างเอริคเซ่น ที่ดรอปต่ำลงมาในภาพนี้ ส่วนแบ็คซ้ายเติมสูงขึ้นไปข้างหน้า

ที่เขียนไปนี้คือรูปทรงการเล่นในตอน build-up ที่มี pattern แบบนี้อยู่แล้ว

ถามว่าจุดที่เป็นปัญหาคืออะไร?

คือเรื่องของการเสียบอลกลางทาง ระหว่างที่เจอคู่แข่งเล่น "High Pressing" ใส่ เรามักจะโดนเล่นงานได้บ่อยๆเวลาเจอเพรส ข้อนี้การทำให้ทีมแก้เพรส ต่อบอลกันเก่งๆจะช่วยได้ / การมีกองหลังครองบอลดีๆ ไม่มีจุดอ่อนเรื่องความคล่องตัว ช่วยได้ / การมีผู้รักษาประตูที่เล่นบอลด้วยเท้าเก่งๆ เป็น Sweeper Keeper สายเล่นด้วยเท้าดีๆแบบ ราย่า โอนาน่า เอแดร์ซอน จะช่วยบอลของเทน ฮาก ได้เยอะ

และข้างล่างนี้คือแมพแผนที่การได้บอลของเซบีญ่าที่ recovery ได้ในสนามตอนเจอแมนยูปีนี้ เห็นชัดเลยว่า พวกเขาเก็บบอลในแดนบนได้เยอะกว่าแดนตัวเองซะอีก(ขวา) นั่นแปลว่าแมนยูไนเต็ดเจอเพรสแล้วโดนเล่นงาน + เสียบอลในแดนตัวเองเยอะมากอย่างที่เห็นใน recovery map ข้างล่างนี้ นี่คือปัญหาหนักที่ต้องแก้อย่างมาก

ประเด็นที่สาม เรื่องความย่ำแย่ของลูกเซ็ตพีซ

"เอริค แรมซีย์" โค้ชเซ็ตพีซที่ยังต้องโต้เถียงกันอีกนานว่าต้อง coaching ให้ดีกว่านี้ ซึ่งมันเกี่ยวพันจุดที่ยังต้องยกระดับมากกว่านี้คือผลลัพธ์ของลูกเซ็ตพีซ

ข้อมูลจากดิแอธเลติกทำไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า นี่คือส่วนของปัญหาแมนยูที่ต้องแก้ เช่นเรื่องลูกเซ็ตพีซที่ต้องเล่นถึง 42 ครั้งกว่าจะได้สักประตู หรือลูกเตะมุม 100 ครั้ง แมนยูไนเต็ดจะทำประตูได้เพียงแค่ 2.1 ประตู นี่เป็นปัญหาหนักมาก เพราะสถิติสองอย่างนี้ แมนยูอยู่ในอันดับ "รองโหล่" ของพรีเมียร์ลีก ถือว่าอาการหนักและต้องแก้อย่างแรง เป็นปัญหาพอๆกับเกมเยือนเลย

นอกจากเซ็ตพีซเรื่องเกมรุกจะไม่ดีแล้ว การป้องกันเซ็ตพีซคู่แข่งในภาคเกมรับก็แย่เหมือนกัน ล่าสุดก็โดนเตเต้โฉบโหม่งไปจากเกมนัดสุดท้ายที่ชนะฟูแล่ม 2-1

จริงๆเรื่องลูกเซ็ตพีซเคยทำบทความนำเสนอ pattern การเล่นของทีมไปแล้ว แต่ปัญหาที่เห็นบ่อยๆของทีมเราคือการตามประกบตัวโหม่งของคู่แข่งที่มีปัญหาบ่อยๆ การป้องกันเซ็ตพีซของแมนยูแบ่งเป็นสองส่วน คือ Man-markers กับ Zonal-markers พวกตัวสูงๆอย่างวาราน แมกไกวร์ ลินเดอเลิฟ พวกนี้จะยืนคุมโซนในพื้นที่อันตรายบริเวณจุดสำคัญหน้าปากประตู

ส่วนนักเตะคนอื่นๆที่เหลือจะมีหน้าที่ตามคุมตัวประกบที่จะโถมเข้าโหม่ง ซึ่งปัญหาหลักมักจะเกิดการหลุดตัวประกบบ่อยๆ หรือความสูงเสียเปรียบคู่แข่งจนโดนชิงโหม่งนี่แหละ) เรื่องนี้ยังต้องแก้ไขกันต่อไป แต่เป็นกำลังใจให้คนทำงานอย่างแรมซีย์นะ หน้าที่รับผิดชอบค่อนข้างเยอะ เวลาติวตัวสำรองหลายๆครั้งก็เป็นคนกำชับนักเตะให้ชัดเจนก่อนลงสนามด้วย


เชื่อว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ เอริค เทน ฮาก ต้องการ coaching และใส่เข้าไปให้กับการเล่นของทีมแน่นอน แต่ยังติดข้อจำกัดเรื่องตัวผู้เล่น และขีดศักยภาพที่นักเตะทำได้อยู่

ถ้าถึงเวลาที่ทีมพัฒนาขึ้น ฟุตบอลสายโอเวอร์โหลดของเขาเวลาที่มันบรรลุผล ทีมจะโหดขึ้นแบบทันตาเห็น ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่ถึงจุดนั้น แต่เรารอดูวันที่มันจะสำเร็จอยู่ กล้ารับประกันว่าบอลสายนี้ของเทน ฮาก เกมบุกมันจะดุดันมากๆเหมือนอย่างที่ได้เห็นกันจากอาแจ็กซ์ในปีก่อน

ข้อดีข้อเสีย มีให้เห็นมากมาย ก็ได้แต่หวังว่าทีมงานของเราจะค่อยๆแก้ไข และ ยกระดับสิ่งไม่ดีให้ดีขึ้น และฟอร์มการเล่นเกมเยือนที่ไม่ค่อยได้แต้มในปีนี้ ถ้าปีหน้าเก็บคะแนนได้เยอะกว่าเดิม เรามีโอกาสลุ้นแชมป์ได้ หากยังรักษาฟอร์มในบ้านให้เป็นป้อมปราการได้แบบนี้ แต่เราไปเก็บแต้มนอกบ้านได้เพิ่ม ทีมจะอยู่ในอันดับที่ดีกว่านี้

เป็นงานของทั้งทีมงาน และสตาฟฟ์โค้ช ที่ต้องช่วยกันแก้ไข และจะสำเร็จได้ถ้าทั้งทีมนักเตะและโค้ชช่วยกันทำงานอย่างหนัก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชุดนี้จะต้องเติบโตไปพร้อมๆกัน ทั้งนักเตะ โค้ช และแฟนบอล

เมื่อถึงวันที่เราประสบความสำเร็จ แล้วจะรู้ว่า "Process" ทั้งหลายในการพัฒนาทีมเหล่านี้ ต้องใช้ระยะเวลาและการทำงานหนักอย่างแท้จริง กว่าจะไปถึงวันนั้นได้

และเราจะรอวันที่แมนยูกลับมาผงาดอีกครั้งครับ

#BELIEVE

Reference

https://theathletic.com/4558330/2023/05/29/ten-hag-manchester-united-first-season/?source=twitteruk

https://totalfootballanalysis.com/


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด