:::     :::

อำลา คัมป์ นู มุ่งสู่อนาคตที่สดใส

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เกม ลา ลีกา นัดที่ 37 ของฤดูกาล เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา ระหว่าง บาร์เซโลน่า กับ เรอัล มายอร์ก้า ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของทัพอาซูลกราน่าเหนือผู้มาเยือน 3-0 นอกจากจะเกมนัดสุดท้ายในฐานะนักเตะบาร์ซ่าของ 2 ตำนานสโมสรอย่าง ยอร์ดี้ อัลบา และ เซร์คิโอ บุสเก็ตส์ แล้ว ยังเป็นเกมอำลาสนาม คัมป์ นู อีกด้วย หลังจากเปิดใช้งานมายาวนาน 66 ปี 

เพื่อเป็นการบันทึกช่วงเวลาแห่งความทรงจำที่สาวกกูเล่ส์มีร่วมกับ คัมป์ นู วันนี้เราจะเล่าเรื่องราวถึงสนามแห่งนี้กันสักหน่อยครับ 

จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของวงการฟุตบอลสเปน รวมถึงการมาของซูเปอร์สตาร์ชื่อดัง ลาดิสเสลา คูบาล่า ในปี 1951 ทำให้ผู้บริหารสโมสรบาร์เซโลน่าในยุคนั้นปิ๊งไอเดียการสร้างสนามเหย้าแห่งขึ้นใหม่ที่ใหญ่และทันสมัยมากกว่าเดิม 


แม้ว่าสนามปัจจุบันอย่าง คัมป์ เด เลส์ กอร์ตส์ จะสามารถจุแฟนบอลได้มากถึง 60,000 คนแล้วก็ตาม แต่บอร์ดบริหารมีความต้องการขยายเพิ่มให้ถึง 90,000 ที่นั่งเป็นอย่างน้อย เพื่อตอบสนองแฟนบอลที่ต้องการเข้ามาชมเกมการแข่งขันของ บาร์ซ่า แบบสดๆได้อย่างเต็มอิ่มครบถ้วน และให้สนามแห่งใหม่ของสโมสรกลายเป็นสนามกีฬาที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในโลก




สนาม คัมป์ นู เริ่มต้นก่อสร้างขึ้นในยุคสมัยของประธานสโมสรฟรานซิสโก้ มีโร่-ซานส์ ส่วนโปรเจคต์การทำงานนี้รับผิดชอบโดย ฟรานเซส มิตยานส์ สถาปนิกผู้ซึ่งเป็นทั้งลูกพี่ลูกน้องและเพื่อนบ้านของ มีโร่-ซานส์ ซึ่งตึกที่ท่านประธานมีโร่-ซานส์ พักอาศัยอยู่บนถนน กาเย่ เด อามีโก้ ก็เป็นฝีมือการออกแบบและคุมงานก่อสร้างของ ฟรานเซส มิตยานส์ ผู้นี้ด้วยเช่นกัน เรียกว่า รู้มือ และได้สัมผัสกับคุณภาพงานของ มิตยานส์ มานานจนไว้ใจ 


อิฐก้อนแรกในการก่อสร้างสนามถูกวางลงพื้นดินเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1954 ด้วยงบประมาณ 67 ล้านเปเซต้า ค่าเงินเก่าของสเปน หากตีเป็นค่าเงินยูโรในปัจจุบันก็อยู่ที่ราว 402.678 ยูโร 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะความผิดปกติของชั้นดินดาน ทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้า และทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล เบ็ดเสร็จแล้วใช้ไปทั้งสิ้น 288 ล้านเปเซต้า หรือ 1,731,000 ยูโร 


นอกจากนี้แล้ว ในการซื้อที่ดินรอบ ๆเพื่อสร้างสนามก็มีส่วนที่ทำให้งบประมาณบานปลายและความ่าช้าในการก่อสร้างเช่นกัน 

สโมสรหวังว่าจะควบคุมค่าใช้จ่ายด้วยการขายที่ดินของสนามเดิมย่าน Les Corts แต่สภาเมืองบาร์เซโลนาใช้เวลา 10 ปีในการจัดประเภทใหม่ ทำให้สโมสรประสบปัญหาทางด้านการเงิน จนกระทั่งในที่สุด หัวหน้าฐบาลสเปนในเวลานั้น ฟรานซิสโก ฟรังโก ได้อนุญาตให้จัดประเภทที่ดิน Les Corts ใหม่และยุติวิกฤตด้านการเงินของ บาร์เซโลน่า



24 กันยายน 1957 สนามคัมป์ นู ถูกเปิดใช้งานเป็นครั้งแรกซึ่งตรงกับว่า เดีย เด ลา มาร์เซด งานฉลองใหญ่ประจำปีของเมืองบาร์เซโลน่า โดยในพิธีเปิดมีบุคคลสำคัญมากมายเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน อาทิ เกรกอรีโอ โมเดรโก อาร์กบิชอปแห่งบาร์เซโลน่า,รัฐมนตรี-เลขาธิการคณะรัฐบาล โฆเซ่ โซลิส, ผู้ว่าการพลเรือนประจำจังหวัด เฟลิเป้ อาเซโด โกลุนกา และ นายกเทศมนตรี โฆเซ มาเรีย เด ปอร์ซิโอเลส

……………………………

เกมแรก

เกมแรกที่ คัมป์ นู ถูกใช้งานอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1957 ในเกมที่ บาร์เซโลน่า พบกับ เรอัล ฆาเอน ในนัดที่ 4 ของการแข่งขัน ลา ลีกา ฤดูกาล 1957-58  ผลในวันนั้นลงเอยด้วยชัยชนะท้วมท้นของ อาซูลกราน่า 6-1 และนักเตะคนแรกที่ยิงประตูใน คัมป์ นู ก็คือ รามอน อัลเบร์โต้ บียาเบร์เด้ ปีกชวอุรุกวัยหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญของทีมในยุคนั้น โดยเจ้าตัวยิงได้ในนาทีที่ 3 

นอกจากนั้นแล้ว ฆุสโต้ เตฆาด้า,ลาดิส เสลา คูบาล่า ยังยิงได้อีกคนละ 1 ประตู โดยที่มี เอวโลคิโอ มาร์ติเนซ เป็นคนทำแฮตทริก ซึ่งถือเป็นแฮตทริกแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นภายใน คัมป์ นู อีกด้วย 



……………………………

ที่มาของชื่อ ‘คัมป์ นู’ 

ในส่วนของที่มาของชื่อสนาม ช่วงแรกมีการคาดกันว่าน่าจะตั้งตามชื่อของผู้ก่อตั้งสโมสรอย่าง โจน กัมเปร์ ทว่า ในยุคนั้นความขัดแย้งทางเชื้อชาติและแนวคิดทางการเมืองยังเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง ทางบอร์ดบริหารจึงตัดสินใจตั้งว่า เอสตาดิโอ เดล กลุ๊บ เด ฟุตบอล บาร์เซโลน่า 


อย่างไรก็ดี สนามมักถูกเรียกจากแฟนๆแบบสั้นๆว่าจนนานวันกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางว่า คัมป์ นู (Camp Nou) 

คัมป์ นู (Camp Nou) เป็นภาษากาตาลันโดยคำว่า คัมป์ แปลว่าสนาม และ นู แปลว่า ใหม่ เรียกรวมกันว่า ‘สนามใหม่’

ทั้งนี้เหตุผลที่แฟนบอลเรียกว่าสนามตัวเองว่า คัมป์ นู หรือ สนามใหม่ นั้น ก็เพื่อป้องกันความสับสนโดยแยกให้เด็ดขาดกับ เลสกอร์ตส์ ที่เป็นสนามเดิม ซึ่งเหล่าแฟนบอลก็เปลี่ยนไปเรียกว่า คัมป์ วิง (camp vell) หรือสนามเก่า 



ในวันที่ 22 กันยายน 1965 ประธานสโมสรเอ็นริก เยาเด็ต ได้เรียกประชุมคณะกรรมการและโซซิโอเพื่อตัดสินใจถึงเรื่องชื่อสนามอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่า ชื่อ เอสตาดิโอ เดล กลุ๊บ เด ฟุตบอล บาร์เซโลน่า ได้รับการโหวตมากที่สุด เอาชนะ บาร์ซ่า สเตเดี้ยม และ คัมป์ นู 

อย่างไรก็ตามชื่อ คัมป์ นู ยังคงพบได้บ่อยจากสื่อต่างๆที่นักข่าวยังคงนิยมเรียกรังเหย้าของ บาร์ซ่า ว่า คัมป์ นู ต่อไป กระทั่งในวันที่ 11 เมษายน 2001 โจน กาสปาร์ต ประธานสโมสรจึงตัดสินใจเรียกประชุมคณะกรรมการและโซซิโอใหม่อีกครั้ง และครั้งนี้มติส่วนใหญ่เห็นชอบให้ใช้ชื่อ คัมป์ นู เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ




เอาชนะชื่อ เอสตาดี้ โจน กัมเปร์ รวมถึงชื่อ เอสตาดิโอ เดล กลุ๊บ เด ฟุตบอล บาร์เซโลน่า วึ่งถูกเรียกมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 1973 ก่อนจะมาสิ้นสุดในวันที่ 23 กรกฏาคม 2001 นี้เอง 

รังเหย้าของ บาร์ซ่า จึงมีชื่อว่า คัมป์ นู อย่างสมบูรณ์แบบ 

นับตั้งแต่เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่  24 กันยานยน 1957 จนจนกระทั่งถึงเกมกับ เรอัล มายอร์ก้า เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2023 นับรวมเวลาทั้งสิ้น 66 ปี ที่ คัมป์ นู อยู่คู่กับ บาร์เซโลนิสต้า มา สนามแห่งนี้ช่วยให้ บาร์ซ่า คว้าชัยไปทั้งสิ้น 1,248 เกม ยิงได้ 4324 ประตู 


ประตูแรกเป็นของ รามอน อัลเบร์โต้ บียาเบร์เด้

ประตูที่ 1.000 เป็นผลงานของ อาเซนซิ

ประตูที่ 2.000 มาจาก กีเยร์โม่ อามอร์ 

ประตูที่ 3.000 เป็นของ โรนัลดินโญ่

และประตูที่ 4.000 ก็อย่างที่มันควรจะเป็น คือผลงานของ ลิโอเนล เมสซี่ 


ในเกมนัดอำลา คัมป์ นู กับ เรอัล มายอร์ก้า นักเตะบาร์เซโลน่าทุกคนสวมเสื้อที่บนหน้าอกใกล้ตราสโมสรมีการพิมพ์ข้อความที่ระลึกเป็นภาษากาตาลันว่า  'Ple d'Historia, ple de futur' หรือ เปี่ยมด้วยประวัติศาสตร์, เปี่ยมล้นด้วยอนาคต 

เพื่อเป็นการกล่าวคำอำลาต่อ คัมป์ นู จากนั้นฤดูกาลหน้า 2023-24 บาร์เซโลน่า จะย้ายไปเล่นที่สนาม โอลิมปิก เด มอน จูอิกต์ เป็นการชั่วคราว จนกว่า รังเหย้าแห่งใหม่ในโครงการ เอสไป จะเสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นเดือนพฤศจิกายน 2024 

ลาก่อน คัมป์ นู...อนาคตที่สดใสของเหล่าสาวกอาซูลกราน่ากำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่ช้านี้แล้ว 


เจมส์ ลา ลีกา 



ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด