:::     :::

เกิดอะไรขึ้นบ้างในวันที่ "ลีกรอง" ถ่ายทอดสดกันเอง

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 คอลัมน์ ONE MAN SHOW โดย แมน โกสินทร์
406
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ฟุตบอลไทยฤดูกาล 2023/24 กลายเป็นความผิดหวังของหลายคนก็ว่าได้ หลังจากไม่มีผู้ที่ยื่นประมูลลิขสิทธิ์ตามเป้าที่วางเอาไว้ 550 ล้านบาท เพราะคู่ค้าเดิมอย่าง AIS PLAY ไม่ได้ต่อสัญญาและจนแล้วจนรอดก็ไม่มีเจ้าไหนที่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้

ทำให้สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เรียก 16 สโมสรในไทยลีก มาพูดคุย หลังจากพวกเขาแสดงท่าทีว่าต้องการจะแยกตัวออกไปบริหารเพื่อจัดการเรื่องค่าลิขสิทธิ์กันเอง ซึ่งในวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา หรือก่อนเปิดฤดูกาลเพียงแค่ไม่กี่วัน ก็ได้บทสรุปออกมาว่า

สมาคมฯ ยืนยันดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับ ไทยลีก 1 ไทยลีก 2 และ ไทยลีก 3 และฟุตบอลถ้วยตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้โดย บริษัท ไทยลีก จำกัด และจะผลิตสัญญาณถ่ายทอดสด และใช้ VAR ในการตัดสินการแข่งขันระดับไทยลีก 1 ครบทุกคู่ 


โดยในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ถือสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขัน สมาคมฯ ยินดีมอบให้สโมสรไทยลีก 1 และฟุตบอลถ้วย เป็นผู้นำสัญญาณไปถ่ายทอดในช่องทางของสโมสรหรือนำไปเผยแพร่เพื่อสร้างรายได้ในการสนับสนุนสโมสรตามเงื่อนไขที่สมาคมฯ กำหนด

พร้อมกันนี้ทางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เห็นด้วยในหลักการจัดตั้งองค์กรบริหารฟุตบอลไทยลีก 1 ซึ่งจำเป็นต้องทำการศึกษาเรื่องโครงสร้างการบริหาร ระเบียบ และข้อบังคับทางกฎหมาย ทั้งนี้ สมาคมฯ ขอให้สโมสรเข้ามานำเสนอแผนการดำเนินธุรกิจโดยละเอียดต่อไป


อย่างไรก็ตาม ไทยลีก 2-3 จะมีการถ่ายทอดสดตามเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ของผู้สนับสนุน แต่เป็นการถ่ายทอดสดกันเอง ซึ่ง สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก็รับปากว่าจะมีเงินสนับสนุนให้ เพียงแต่ไม่มีการบอกจำนวนตัวเลขออกมาอย่างชัดเจน

นั่นหมายความว่า การถ่ายทอดสดด้วยตัวเองทุกอย่างจะเกิดข้อดีและไม่ดีตามมา ซึ่งในลีกพระรองนับตั้งแต่ที่มีการเปิดฤดูกาลมาแล้ว 4 แมตช์ ก็มีหลายเกมที่มีปัญหาตามออกมา โดยเฉพาะในจังหวะที่ล้ำหน้า 

จริงๆแล้วเมื่อไทยลีก 2 ไม่มี VAR ย่อมต้องการภาพช้าที่ชัดเจนมากๆ เพราะในหลายฤดูกาลที่ผ่านมา หากว่าทีมมั่นใจว่า “ไม่ล้ำหน้า” แล้วผู้ช่วยผู้ตัดสินมีความผิดพลาด ก็สามารถเอาช็อตปัญหาจากภาพช้าไปยื่นต่อคณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสิน เพื่อลงโทษได้

พอกลายมาเป็นถ่ายทอดสดเอง แน่นอนว่ามุมกล้องที่ทำการยิงสัญญาณลงในเพจสโมสร หรือทาง Youtube ก็อาจจะไกลไป ทำให้ทุกอย่างไม่ชัดเจน เพราะด้วยองศาและคุณภาพของกล้องที่ใช้ ทำได้เพียงแค่ซูมภาพเข้าไปเพื่อให้คณะกรรมการฝ่ายผู้ตัดสิน ได้ใช้ประกอบการพิจารณา


 เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาที่ทาง บ.ไทยลีก จำกัด ก็อาจจะรู้สึกกังวลเหมือนกัน เพราะสุ่มเสี่ยงในเรื่องของมูลค่าของไทยลีก 2 ได้ แต่ในสภาวะที่เรากำลังเผชิญกับ “ฤดูกาลไม่ปกติ” แบบนี้ ตามที่ทราบข่าวมา ทุกสโมสรก็ช่วยกันพัฒนาทุกด้าน ให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่พวกเขาทำได้

 แต่ใช่ว่าจะไม่มี “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” เพราะการได้ถ่ายทอดสดเอง ก็เหมือนได้เห็นมิติใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักพากย์ที่ก้าวขึ้นมา อาทิ "Turnpro Media" ที่เป็น “คนขายเสียง” จากฟุตบอลเดินสาย รายการชิงเงินรางวัลล้านบาท หรือหลายแสนบาทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา


 เท่าที่มีข้อมูลทีมงานนี้เป็นผู้มาพากย์ให้กับ พัทยา ยูไนเต็ด แบบไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อต้องการพิสูจน์ตัวเองกับลีกอาชีพ แม้เอาเข้าจริงๆ ภาษาที่ใช้ยังไม่ได้เป็นทางการมากมายนัก แต่ก็ถือว่าสร้างความบันเทิง และปรากฏการณ์ใหม่ๆให้วงการได้ไม่น้อย

 หรือ สมุทรปราการ ซิตี้ ที่ใช้บริการของ "Kool Supporters" ที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลเดินสายทั้งประเทศ จนไปถึงเวียดนามอีกด้วย


 ขณะที่ทีมต่างๆ ก็หาผู้บรรยายเกมส์ มาจนได้เหมือนกัน แม้ต้องแบกค่าดำเนินการถ่ายทอดนัดละไม่น้อยก็ตาม และยังไม่รู้ว่าจะได้เงินสนับสนุนจากทาง สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย หรือไม่ หรือเป็นจำนวนเท่าใด กระนั้นในตอนนี้ทุกคนที่อยู่ในองคาพยพต่างก็พยายามทำหน้าที่ของตัวเองกันแบบเต็มกำลัง

ในวันที่สถานการณ์ของฟุตบอลไทยไม่ปกติ ก็น่าจะเป็นอีกเรื่องที่เราได้เห็นเรื่องราวมากมายที่เป็นรสชาติแปลกใหม่ในการรับชมฟุตบอล โดยเฉพาะทั้ง 18 สโมสรในลีกพระรอง ที่จะต้องพยายามหาคนบรรยายเกมมาให้ได้ตรงลักษณะของทีม และตอบโทย์ให้กับแฟนบอล เพื่ออรรถรสที่จะต้องไม่ขาดหายไป

ไม่แน่เหมือนกันนะนี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้ค้นพบสเน่ห์ใหม่ๆ ของฟุตบอลไทยก็เป็นได้


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด